Search

คลายสงสัย'13สมุนไพร' ทำไมถึงเป็นวัตถุอันตราย? - เดลีนีวส์

herb-dokterethaliani.blogspot.com

จากกรณีมีการร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอให้ถอดพืชสมุนไพร 13 รายการ ออกจากบัญชีวัตถุอันตรายทุกประเภท โดยสมุนไพรดังกล่าวคือ สะเดา, ตะไคร้หอม, ขมิ้นชัน, ขิง, ข่า, ดาวเรือง, สาบเสือ, กากเมล็ดชา, พริก, คึ่นช่าย, ชุมเห็ดเทศ, ดองดึง และหนอนตายหยาก ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 2 ให้ขยับเป็นประเภทที่ 1 เนื่องจากพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ไม่ใช่ "วัตถุ" (วัตถุตามพจนานุกรมไทย พ.ศ.2560 หมายถึง "สิ่งของ") พืชสมุนไพรเป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่วัตถุ และเป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาแต่โบราณกาล ใช้ในการประกอบอาหารนานาชนิด และมีผลในการรักษาโรคแผนโบราณ จนกลายเป็นข้อสงสัยถึงความอันตรายของเหล่าสมุนไพรดังกล่าวไปทั่วทั้งสังคมออนไลน์ วันนี้ "เดลินิวส์ออนไลน์" หาคำตอบมาฝากกัน

สำหรับ ในประเทศไทย มีกฎหมายควบคุมดูแลเรื่องวัตถุอันตรายเรียกว่า "พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535" ได้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย มีคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อด้วยเหตุผลต่างๆ ก็ออกเป็นประกาศทีละฉบับออกมา สาระสำคัญของ พรบ. วัตถุอันตรายเกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง รวมทั้งมาตรการป้องกันอุบัติภัยเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายและมาตรการต่างๆ เพื่อความปลอดภัย ข้อกำหนดในพรบ. จะระบุชนิดอันตรายของวัตถุอันตรายเป็น 4 ชนิด ที่มีระเบียบวิธีปฏิบัติเข้มงวดต่างกัน ดังนี้

-วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
-วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องแจ้งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ทราบก่อน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดด้วย
-วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องได้รับใบอนุญาต
-วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง

คำว่าวัตถุอันตรายจึงเป็นคำศัพท์ตาม พรบ. วัตถุอันตราย ซึ่งอาจจะเป็นสารเดี่ยวหรือเป็นกากของเสียอันตราย  ตัวพืชสมุนไพรไม่ใช่วัตถุอันตรายแต่ในสมุนไพรบางชนิดจะมีสารที่มีฤทธิ์ทางยาหรือฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืช  การนำสารสกัดจากสมุนไพรมาใช้ทางการเกษตรเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริม  เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติย่อมมีอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสารเคมีสังเคราะห์

ทั้งนี้ หากไม่รู้จักใช้หรือใช้สมุนไพรไม่ถูกต้อง ก็จะมีอันตรายได้ โดยสามารถแยกออกเป็น 3 ประการ ดังนี้
1.อันตรายที่เกิดจากโรคที่ขาดการรักษา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหืด ซึ่งแพทย์ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ช่วยได้เพียงการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันโรคแทรกซ้อน บางคนอาจทานยาจนเบื่อ เลยหยุดทานยา และหันมารักษาด้วยสมุนไพรแทน แต่สมุนไพรหลายชนิดอาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค นอกจากนี้โรคที่เป็นอาจไม่แสดงอาการชัดทำให้เข้าใจว่า โรคหายแล้ว จึงหยุดการรักษาที่ถูกวิธีไป ซึ่งนานไปโรคเดิมอาจกลับมากำเริบ และส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้
2.อันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ของสมุนไพรโดยตรง สมุนไพรหลายชนิดจะมีสารเคมีที่เป็นพิษร้ายแรงปะปนอยู่ ถ้าได้รับเข้าไปจะทำให้เกิดอาการจากพิษนั้น ๆ เช่น มะเกลือ ผลของมันเมื่อแก่เต็มที่จนมีสีดำ อาจจะมีสาร naphthalene ซึ่งเป็นพิษต่อประสาทตาโดยตรง หรือ ยี่โถ เราพบว่า มีพิษอยู่ในใบของมัน หากได้รับสารนี้จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง และอาจหยุดได้
3.อันตรายจากสารเจือปนในสมุนไพร ซึ่งทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ยาสมุนไพร เพื่อหาสารเจือปนที่จะเป็นอันตรายพบว่า ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของ arsenic 60% และสาร steroids กว่า 30% นอกจากนั้นยังมีสารอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย 

สำหรับ "สารอันตรายที่เจือปนในสมุนไพร" มีดังนี้
-arsenic ถือว่าเป็นยาอันตราย ในตำราแพทย์โบราณเชื่อว่าสารนี้มีคุณสมบัติกระตุ้นให้กระชุ่มกระชวย แต่ถ้ารับมากไปอาจจะเกิดพิษได้ ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษนี้อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากขึ้นด้วย
-steroids มีคุณสมบัติบรรเทาอาการของโรคหลายชนิด หากใช้นาน ๆ จะมีอาการข้างเคียง และอันตรายมาก หากใช้ติดต่อกันนานจะทำให้ติดยา และถ้าหยุดยาเฉียบพลัน อาจทำให้ช็อคได้
-สารปรอท หากมีผสมในสมุนไพร จะทำให้เกิดพิษ มีอาการปากเปื่อย เหงือกอักเสบ ไตวาย เป็นต้น
-สารตะกั่ว เป็นที่รู้จักกันดี ตะกั่วเป็นพิษทำให้มีอาการปวดท้อง โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากปลายประสาทผิดปกติ เป็นต้น...

ขอบคุณข้อมูลจาก @ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี,@ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี




July 17, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/3fB8XeV

คลายสงสัย'13สมุนไพร' ทำไมถึงเป็นวัตถุอันตราย? - เดลีนีวส์

https://ift.tt/37ceLI4


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คลายสงสัย'13สมุนไพร' ทำไมถึงเป็นวัตถุอันตราย? - เดลีนีวส์"

Post a Comment

Blogger news

Powered by Blogger.