กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--มหาวิทยาลัยทักษิณ
สาขาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง แนะนำการทำอโรมา 4 สูตร “ถุงหอมสมุนไพรสด” จากพืชสมุนใกล้บ้านเพื่อผ่อนคลายและเหมาะกับการนำไปวางห้องต่างๆ ภายในบ้านทั้งยังเหมาะกับผู้สูงอายุ
ผศ.ดร.กุสุมาลย์ น้อยผา อาจารย์ประจำสาขาแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา กล่าวว่า การใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคของแพทย์แผนไทย รสชาติของตัวยาถือเป็นหลักการสำคัญอันดับแรกในการพิจารณานำมาใช้รักษาโรคต่างๆ โดยรสยาถูกนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้สรรพคุณของยาสมุนไพร จากตำราเวชศึกษาแพทย์ศาสตร์สังเขป ตำราการแพทย์แผนไทยเดิม ตำราประมวลหลักเภสัช และตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไปสาขาเภสัชกรรม ได้แบ่งรสยาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ยารสประธาน และรสของตัวยา
จึงต้องหาตัวยาให้เหมาะกับอาการของโรคที่เราเป็นอยู่ เพื่อจะได้ใช้ยาให้เหมาะสมตามอาการ ในส่วนของกิจกรรมนี้ ได้มีการนำสมุนไพรสดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาจัดทำเป็นถุงหอม เพื่อนำไปวางในสถานที่ต่างๆ ภายในบ้าน จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ ที่ผู้สูงอายุสามารถทำเองได้ ซึ่งหลักในการพิจารณานำสมุนไพรไปใช้นั้น นอกจากการพิจารณาเรื่องรสยาสมุนไพรดังที่กล่าวมาแล้ว ยังพิจารณาจากหลักสุคนธบำบัด (อโรมาเทอราปี) คือ การบำบัดรักษาด้วยการใช้กลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยในสมุนไพร
อาจารย์ปิยะนุช สุวรรณรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการทำถุงหอมสมุนไพรสดในครั้งนี้ เราจะสอนให้ผู้สูงอายุนำสมุนไพรใกล้ตัว จากพืชผักสมุนไพรรอบบ้านมาทำ ซึ่งเราจะทำจำนวน 4 สูตร เพื่อจะได้ใช้วางให้เหมาะสมกับรูปแบบของห้องต่างๆ ที่เราทำกิจกรรมด้วย ดังนี้
สูตรที่ 1 สูตรตะไคร้ใบเตยโรยดอกมะลิ สำหรับห้องนอน ห้องนอนเป็นห้องที่เหมาะสำหรับการพักผ่อน นอนหลับ สมุนไพรที่เหมาะสมควรเป็นสมุนไพรที่มีรสหอมเย็น มีน้ำมันหอมระเหยที่มีสรรพคุณ ช่วยให้นอนหลับ ลดอาการปวดศีรษะ ลดความวิตกกังวล ลดอาการเหนื่อยล้า คลายเครียด บรรเทาอาการซึมเศร้า อาการทางจิต ปรับสมดุลทางอารมณ์ ได้แก่ มะลิ เตยหอม ตะไคร้หอม เมนทอล และยูคาลิปตัส
สูตรที่ 2 สูตรตะไคร้ใบเตย โรยดอกมะลิ สำหรับห้องนั่งเล่น/ห้องพักผ่อน ห้องนั่งเล่นเป็นห้องที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนดูโทรทัศน์ พูดคุย และรับแขก สมุนไพรที่เหมาะสม ควรเป็นสมุนไพรที่มีรสหอมเย็นและรสร้อนมีน้ำมันหอมระเหยที่มีสรรพคุณ ทำให้รู้สึกสดชื่น ตื่นตัว ลดอาการวิตกกังวล ลดอาการเหนื่อยล้า และคลายเครียด เช่น มะลิ เตยหอม ตะไคร้หอม มะกรูด เมนทอล และยูคาลิปตัส
สูตรที่ 3 สูตรต้มยำกุ้ง สำหรับห้องครัว/ห้องรับประทานอาหาร ห้องครัวเป็นห้องที่อาจมีกลิ่นอาหาร สมุนไพรที่เหมาะสมควรเป็นสมุนไพรที่มีรสร้อน มีสรรพคุณทำให้ตื่นตัว มีชีวิตชีวา คลายเครียด ลดอาการเหนื่อยล้า และดับกลิ่นคาว เช่น ตะไคร้หอม มะกรูด เหง้าข่า การบูร เมนทอล และยูคาลิปตัส
สูตรที่ 4 สูตรพล่ากุ้ง สำหรับห้องน้ำ ห้องน้ำเป็นห้องสำหรับการปลดทุกข์ ทำธุระส่วนตัว และใช้ความคิดอยู่กับตัวเอง สมุนไพรที่เหมาะสมควรเป็นสมุนไพรที่มีรสหอมร้อนและรสหอมเย็น มีสรรพคุณทำให้รู้สึกสดชื่น ตื่นตัว คลายเครียด ลดความกังวล และลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น ตะไคร้หอม มะกรูด เตยหอม สาระแหน่ การบูร เมนทอล และยูคาลิปตัส
ขั้นตอนการทำถุงหอมสมุนไพรสด
เตรียมสมุนไพรสดตามที่กำหนดไว้ในแต่ละสูตรล้างทำความสะอาดสมุนไพรหั่นสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆนำสมุนไพรมาผสมให้เข้ากันบรรจุลงในถุงที่เตรียมไว้นำถุงหอมสมุนไพรสดไปวางยังห้องต่างๆ
นอกจากนี้สมุนไพรสดที่นำมาทำถุงหอมสมุนไพร สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามชนิดสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น และการเลือกสมุนไพรควรพิจารณาจากรสยาของสมุนไพรและคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยที่มีในสมุนไพร ทั้งนี้สมุนไพรมีรสยาที่หลากหลายไม่ได้มีเพียงรสเดียว จึงควรระมัดระวังในการนำสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ หากมีความไม่เข้าใจควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
June 18, 2020 at 09:44AM
https://ift.tt/3fCEooq
สาขาการแพทย์แผนไทย ม.ทักษิณ แนะ 4 สูตร “ถุงหอมสมุนไพรสด” - อาร์วายที9
https://ift.tt/2MI7832
Bagikan Berita Ini
0 Response to "สาขาการแพทย์แผนไทย ม.ทักษิณ แนะ 4 สูตร “ถุงหอมสมุนไพรสด” - อาร์วายที9"
Post a Comment