Search

อาหารเหลวเพาะเลี้ยงพืช - ไทยรัฐ

herb-dokterethaliani.blogspot.com

การผลิตพืชเจริญเติบโตช้า ตระกูลปาล์ม มะพร้าว อินทผลัม ฯลฯ แม้จะสามารถผลิตต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดได้ แต่ใช้เวลานาน ใช้พื้นที่และแรงงานจัดการดูแลสูง แถมยังเสี่ยงได้ต้นกล้าพันธุ์ต้นตัวผู้มากกว่าต้นตัวเมีย เกษตรกรนำไปปลูกแล้วทำให้ได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้า

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับ ไอแทป (ITAP) และ สวก. จึงพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้ระบบอาหารเหลว และนำเอาระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) มาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตต้นพันธุ์

ด้วยการนำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายและปรับปรุงพันธุ์ โดยใช้ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชที่แตกใบอ่อน ช่อดอกอ่อน ตาข้าง มาฟอกฆ่าเชื้อ นำไปเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ จากนั้นพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันและมะพร้าว จากเดิมที่ใช้อาหารแข็ง...เปลี่ยนมาใช้อาหารเหลว พร้อมกับนำเอาระบบไบโอรีแอคเตอร์มาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ระบบนี้ทำให้เนื้อเยื่อพืชพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้รวดเร็วกว่า วิธีการใช้อาหารแข็ง 3—4 เท่า ร่นระยะเวลาในการผลิตต้นอ่อนจากต้นแม่สายพันธุ์ดี ทำให้มีปริมาณต้นกล้าเพียงพอกับความต้องการ ของเกษตรกร

นอกจากนี้ ระบบไบโอรีแอคเตอร์ยังสามารถควบคุมปริมาณสารอาหาร กระตุ้นให้เกิดสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรบางชนิดได้เป็นอย่างดี คณะวิจัยจึงได้นำวิธีการนี้มาพัฒนาระบบการขยายต้นพันธุ์ขมิ้นชัน ว่านมหาเมฆ ว่านชักมดลูก ว่านนางคำ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นขาว และกระชายดำ

เพื่อให้ต้นกล้าพืชสมุนไพรคุณภาพตรงความต้องการของเกษตรกร ที่ปัจจุบันตลาดมีความต้องการสูงจากการระบาดของโควิด-19.

อ่านเพิ่มเติม...




June 29, 2020 at 07:01AM
https://ift.tt/38agAG5

อาหารเหลวเพาะเลี้ยงพืช - ไทยรัฐ

https://ift.tt/2MI7832


Bagikan Berita Ini

0 Response to "อาหารเหลวเพาะเลี้ยงพืช - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Blogger news

Powered by Blogger.