Search

ข้อเท็จจริง ขึ้นทะเบียน "13 สมุนไพร" เป็น "วัตถุอันตราย" ชนิดที่ 1 - ฐานเศรษฐกิจ

herb-dokterethaliani.blogspot.com

เปิดพ.ร.บ.วัตถุอันตราย หลังมติ “คณะกรรมการวัตถุอันตราย” กำหนดพืชสมุนไพร 13 ชนิด อาทิ สะเดา, ตระไคร้หอม, ขมิ้นชัน, ชิงข่า, พริก, คื่นช่ายฯ เป็น “วัตถุอันตรายชนิดที่ 1” เดิม "วัตถุอันตรายชนิดที่ 2"

จากกรณีที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุม “คณะกรรมการวัตถุอันตราย” วันที่ 13 ก.ค. กำหนดพืชสมุนไพร 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา, ตระไคร้หอม, ขมิ้นชัน, ชิงข่า, ดาวเรือง, สาบเสือ, กากเมล็ดชา,พริก, คื่นช่าย, ชุมเห็ดเทศ,ดองดึง และ หนอนตายหยาก เป็น “วัตถุอันตรายชนิดที่ 1” 

โดยปลดล็อค บัญชีพืชสมุนไพรจากการเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 เพื่อให้เกษตรกร และชุมชนสามารถนำพืชสมุนไพร 13 ชนิด มาสกัดเป็นสารสกัดธรรมชาติเพื่อใช้ป้องกันกำจัดแมลง วัชพืช และโรคพืช ตลอดจนศัตรูพืชได้ด้วยตนเอง และได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรทำการจัดทำข้อมูลเพื่อยกร่างเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบรายละเอียดความแตกต่างของ “วัตถุอันตรายชนิดที่ 1” และ “วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 “ โดยอ้างอิง ข้อมูลจาก พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ระบุว่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค้านประกาศสมุนไพร 13 ชนิด "สะเดา-ขมิ้นชัน-พริก" เป็นวัตถุอันตราย

จี้ ถอด "13 สมุนไพร" พ้น วัตถุอันตราย

ทำความรู้จัก “ตะไคร้” หลังจ่อถูกขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตราย

วัตถุอันตราย หมายความว่า วัตถุดังต่อไปนี้ 

(1) วัตถุระเบิดได้ 

(2) วัตถุไวไฟ 

(3) วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ 

(4) วัตถุมีพิษ 

(5) วัตถุที่ทำให้เกิดโรค 

(6) วัตถุกัมมันตรังสี 

(7) วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม 

(8) วัตถุกัดกร่อน 

(9) วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง 

(10) วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตราย แก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ผลิต หมายความว่า ทำ เพาะ ปรุง ผสม แปรสภาพ ปรุงแต่ง แบ่งบรรจุ หรือ รวมบรรจุ


วัตถุอันตราย แบ่งออกตามความจำเป็นแก่การควบคุม ดังนี้ 

(1) วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด 

เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้า ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

(2) วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย

เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงกว่าชนิดที่ 1 กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ในครอบครองต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและแจ้งการดำเนินการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ี่ทราบก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

(3) วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องรับใบอนุญาต 

เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยง สูงกว่า วัตถุอันตรายสองชนิดแรก กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตรายไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

(3) วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง

ได้แก่ วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงทั้งจากคุณสมบัติของตัวสารเองหรือจากลักษณะการใช้ เช่น สารก่อมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์ สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ หรือสารที่ห้ามใช้โดยอนุสัญญา กฎหมายจึงห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง

มาตรา 21 ระบุว่า ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1ต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ
 
มาตรา 45 ระบุว่า  ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ดังต่อไปนี้ 

(1) วัตถุอันตรายปลอม 

(2) วัตถุอันตรายผิดมาตรฐาน 

(3) วัตถุอันตรายเสื่อมคุณภาพ 

(4) วัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้ 

(5) วัตถุอันตรายที่ถูกสั่งเพิกถอนทะเบียน 

การมีไว้ในครอบครองตามวรรคหนึ่งไม่หมายความรวมถึงการครอบครองขณะจะทำลาย หรือการส่งมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือการครอบครองเพื่อการอย่างอื่นตามหน้าที่ที่กำหนดในกฎหมาย

นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดี กรมวิชาการเกษตร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 จะมีความเป็นอันตราย หรือความเป็นพิษน้อยกว่าชนิดที่ 2 และมีขั้นตอนการควบคุมแตกต่างกัน และในกรณีของวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ครอบครองที่จะมีไว้ใช้ จะต้องทำการขึ้นทะเบียน และแจ้งการดำเนินงานกับกรมวิชาการเกษตร

ส่วนวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ไม่ต้องขึ้นทะเบียน แค่มาแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารหรือพืชนั้น ซึ่งการขึ้นทะเบียนจะมีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องนำผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์ข้อมูลความเป็นพิษของสารนั้น ต้องนำสารนั้นไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้เพื่อให้ทราบว่าจะใช้อัตราที่เท่าไหร่ถึงจะมีประสิทธิภาพตามที่กล่าวอ้างจริง 

นอกจากนั้นจะต้องทำการประเมินความเสี่ยง ความปลอดภัยของคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรได้นำสารธรรมชาติ หรือพืชที่อยู่ตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืช กระทรวงเกษตรฯ เห็นว่าควรปลดล็อคพืชสมุนไพร 13 ชนิด จากวัตุอันตรายชนิดที่ 2 กลับมาเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 

จากการขึ้นทะเบียนของกรมวิชาการเกษตร พบว่า สารธรรมชาติ จะแยกออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ สารสกัดธรรมชาติจากพืชได้จากการสกัดจริง และสารธรรมชาติจากพืชที่ไม่ผ่านการสกัด ซึ่งไม่สามารถทำการปลดล็อคสารธรรมชาติจากการสกัดออกเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้ เนื่องจากเมื่อทำการสกัดแล้วจะได้สารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืช เพียว 100% ใช้เพียงนิดเดียวก็มีความเป็นพิษ  และมีความเป็นพิษมาก

แต่ถ้าเป็นสารธรรมชาติจากพืชที่ไม่ผ่านการสกัด เช่น การนำไปตากแห้ง บ่ม สับ แล้วนำมาใช้เลย ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน ไม่ต้องแจ้งว่ามีสารสำคัญในปริมาณเท่าไหร่ หรือใช้ในอัตราเท่าไหร่ ก็จะสะดวกกับเกษตรกรที่จะนำไปใช้หรือนำไปผลิตเพื่อจำหน่าย 

ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2552 ให้ ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ สะเดา ชา/กากเมล็ดชา ข่า ขิง ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม สาบเสือ ดาวเรือง พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายยาก เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1

หลังมีประกาศฉบับนี้ได้ถูกภาคประชาชนร้องเรียนให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณายกเลิกให้ถอดพืชสมุนไพรข้างต้นออกจากการเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 และประกาศฉบับนี้ได้ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2538 ที่ประกาศให้ สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ให้ประกาศเป็น วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 แทน ต่อมา ได้มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2556 ให้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 อีกครั้ง

“สะเดา” 1 ใน 13 สมุนไพร จ่อขึ้นวัตถุอันตราย

ปลดล็อกพืชสมุนไพร 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 เอื้อใคร?

วิพากษ์ “พืชสมุนไพร”ใช้แทน“พาราควอต -คลอร์ไพริฟอส”

ที่มา ราชกิจจานุเบกษา : พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535





July 14, 2020 at 12:30AM
https://ift.tt/32rCAvx

ข้อเท็จจริง ขึ้นทะเบียน "13 สมุนไพร" เป็น "วัตถุอันตราย" ชนิดที่ 1 - ฐานเศรษฐกิจ

https://ift.tt/37ceLI4


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ข้อเท็จจริง ขึ้นทะเบียน "13 สมุนไพร" เป็น "วัตถุอันตราย" ชนิดที่ 1 - ฐานเศรษฐกิจ"

Post a Comment

Blogger news

Powered by Blogger.