เปิดคุณสมบัติ-ประโยชน์ของ “สะเดา” 1 ใน 13 สมุนไพร จ่อขึ้นวัตถุอันตราย
เมื่อ “สะเดา” กลายเป็น 1 ใน 13 พืชสมุนไพรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ่อขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 พาไปทำความรู้จักกับสะเดา พืชสมุนไพรไทยชนิดนี้กันสำหรับสะเดาไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สะเดายอดเขียว และ สะเดายอดแดง โดยสะเดายอดเขียวนั้นจะมีรสขมน้อยกว่าสะเดายอดแดงจึงได้ถูกเรียกกันอีกชื่อว่า สะเดาหวาน หรือ สะเดามัน ขณะที่สะเดายอดแดงนั้นมีรสที่ขมกว่า อย่างไรก็ดี จากข้อมูลพบว่า เกือบทุกส่วนของต้นสะเดานั้นล้วนมีสรรพคุณทางยา
ข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า สะเดา เป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จัก “ตะไคร้” หลังจ่อถูกขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตราย
ค้านประกาศสมุนไพร 13 ชนิด "สะเดา-ขมิ้นชัน-พริก" เป็นวัตถุอันตราย
ปลดล็อกพืชสมุนไพร 13 ชนิด เป็น วอ.1 เอื้อใคร?
ทั้งยังพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกายที่จะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมาได้ เช่น ภาวะความจำเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ ระบบภูมิคุ้มกันลดลง และโรคมะเร็ง เป็นต้น
สำหรับ ประโยชน์และสรรพคุณของ "สะเดา" นั้นมีอยู่ทุกส่วน ตั้งแต่ใบถึงรากเลยทีเดียว
ใบอ่อน สามารถแก้โรคผิวหนัง ปรับสมดุลน้ำเหลือง รักษาแผลพุพอง
ใบแก่ ใช้บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร
ก้าน แก้ไข้ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงสุขภาพในช่องปาก
ดอก แก้พิษโลหิต บรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล แก้ริดสีดวง บรรเทาอาการคันคอ บำรุงธาตุไฟ
ผล บำรุงหัวใจเป็นยาระบาย แก้อาการหัวใจเต้นผิดปกติ
ผลอ่อน ช่วยเจริญอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะขัด
เปลือกต้น เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไข บิดมูกเลือด แก้ท้องร่วง แก้กษัย หรือ โรคซูบผอมแห้งแรงน้อย ลดเสมหะ แก้อาการท้องเดิน แก้บิด มูกเลือด
แก่น แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไข้จับสั่น บำรุงโลหิต บำรุงธาตุไฟ
ราก แก้เสมหะในลำคอ แก้เสมหะที่เกาะแน่นในทรวงอก
ยาง ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
กระพี้สะเดา แก้น้ำดีพิการให้คลั่งเพ้อ แก้เพ้อคลั่ง บำรุงน้ำดี
เมล็ด นำมาสกัดเป็นน้ำมันสะเดาบริสุทธิ์ ใช้บำรุงผิวพรรณและเส้นผม
ส่วนสรรพคุณทางยานั้น จากข้อมูลกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุไว้ ดังนี้
1.ดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกาย ใบสะเดาเมื่อนำมาต้มในน้ำร้อน ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง ล้างพิษในกระแสเลือด กระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น
2.รักษาโรคผิวหนัง สารเกดูนิน (Gedunin) และ นิมโบลิดี (Nimbolide) ในใบและเมล็ดมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียและเชื้อไวรัสสูง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราตามเท้า เล็บมือ เล็บเท้า กลาก-เกลื้อน หิด เริม แผลจากโรคสะเก็ดเงิน (เชื้อแบคทีเรีย) หัด ลมพิษ ผดผื่นคัน หูด และอีสุกอีใส
3.แก้ไข้มาเลเรีย สารเคมีกลุ่มลิโมนอยด์ (Limonoids) ได้แก่ สารเกดูนิน และ นิมโบลิดี ในใบและเมล็ดสะเดา สามารถยับยั้งเชื้อฟัลซิปารัม (P.Falciparum) ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.รักษาโรคไขข้อ ขอบใบสะเดา เมล็ดสะเดา และเปลือกต้น เป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคไขข้อได้ โดยช่วยลดอาการปวด บวมในข้อ ซึ่งอาจนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ทาในบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และอาการปวดหลังช่วงล่าง หรือนำใบมาต้มเป็นน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการของโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคกระดูกพรุน
5.ช่วยย่อยอาหาร ใบสะเดา สามารถนำมาทำเป็นเมนูเรียกน้ำย่อยได้ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี ช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น อีกทั้งน้ำดีที่ถูกกระตุ้นสร้างออกมานั้นจะช่วยย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดีขึ้นด้วย
6.บำรุงสุขภาพช่องปาก บำรุงเหงือกและฟัน นิยมนำมาสกัดเป็นส่วนผสมในยาสีฟันทั่วไป ช่วยรักษาโรครำมะนาด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
7.ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็งมีผลวิจัยบางชิ้นเผยว่า สารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ที่พบในเปลือก ใบ และผลสะเดา มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็ง
8.คุมกำเนิด ใช้น้ำมันสะเดาเพื่อคุมกำเนิดในผู้หญิงและผู้ชาย โดยใช้วิธีต่างกัน ผู้หญิงนั้นจะใช้น้ำมันสะเดาชุบสำลีทาบริเวณปากในช่องคลอด ส่วนผู้ชายจะใช้ฉีดน้ำมันสะเดาบริเวณท่อนำอสุจิ
9.บำรุงข้อต่อ สะเดาช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย
10.ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยจะยับยั้งการผลิตอินซูลินได้กว่า 50 %และยังช่วยปรับสมดุลความอยากอาหาร
11.ดีท็อกซ์สารพิษในกระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดดีหมุนเวียนในร่างกายมากขึ้น
12.ต้านมะเร็งสารพอลิแซ็กคาไรด์ และสารลิโมนอยด์ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย
13.ลดการติดเชื้อราในช่องคลอด
14.บำรุงหัวใจ ผลของต้นสะเดา หากนำมาต้ม ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติ
July 13, 2020 at 02:07PM
https://ift.tt/3fsIOi6
“สะเดา” 1 ใน 13 สมุนไพร จ่อขึ้นวัตถุอันตราย - ฐานเศรษฐกิจ
https://ift.tt/37ceLI4
Bagikan Berita Ini
0 Response to "“สะเดา” 1 ใน 13 สมุนไพร จ่อขึ้นวัตถุอันตราย - ฐานเศรษฐกิจ"
Post a Comment