“พระเจ้าอยู่เป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า”พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ณ บ้านถ้ำติ้ว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เป็นต้นธารของ “สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (Queen Sirikit Botanic Garden)”
“มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” อาสาพา “ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจประจำทำเนียบรัฐบาล” ศึกษาดูงาน “สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” ตั้งอยู่ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง คู่ขนานไปกับการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม 2563 ที่จังหวัดระยอง
เสม็ด-ไม้เด่น กระจูด-พืชงาม ในพื้นที่ “ป่าที่ลุ่มหลังหาด” เนื้อที่ 1,193 ไร่ จาก 3,800 กว่าไร่ ภายใต้ความรับผิดชอบของ “สวนพฤกษศาสตร์ ระยอง” เนรมิตเป็น “ป่าชายหาด” ผลิดอกออกผลต่อระบบนิเวศน์-เศรษฐกิจชุมชนมหาศาล
“วัชนะ บุญชัย” หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์ระยอง บอกว่า จากการสำรวจพื้นที่ป่าภาคตะวันออกเมื่อปี 2543 พบว่า สภาพพื้นที่ระบบนิเวศน์ “ป่าชายหาด” มีความสุ่มเสี่ยงต่อการ “สูญหาย”
“ป่าที่ลุ่มหลังหาดจะมีไม้เด่น เรียกว่า ไม้เสม็ดขาว มีเยอะในภาคใต้ และภาคตะวันออก เป็นแอ่งน้ำจืด แต่ก่อนเป็นน้ำเค็ม เพราะเคยเป็นทะเลมาก่อน ไม้เสม็ดขาวจึงเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณค่า ลักษณะเฉพาะที่เป็นพื้นที่ป่าลุ่มหลังหาด”
หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์ระยอง ชี้ให้เห็นสาเหตุของความสุ่มเสี่ยง-สูญหาของ “ป่าชายหาด” ของจังหวัดระยอง ว่า ใต้ผืนป่า-ดินเป็นทราย และมีคุณสมบัติเฉพาะ เป็น “ซิลิก้า” สามารถนำผลิตเป็นกระจก เป็นที่มาของสัมปทานเหมือง-อุตสาหกรรมแร่ทรายแก้ว
“ตัวเลขของพื้นที่ป่าที่เคยเป็นป่าเสม็ดผืนใหญ่จึงหายไป ยิ่งปัจจุบันไม่ได้มีเพียงเหมืองทราย แต่มีธุรกิจการท่องเที่ยว การเกษตรที่เปลี่ยนจากสภาพพื้นที่ป่าลุ่มหลังหาด กลายเป็นพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ เช่น ชุมพร สุราษฎร์”
สำหรับ “ไม้เสม็ด” ในจังหวัดชลบุรี-จันทบุรีไม่มีแล้ว มีแต่ชื่อ “หนองเสม็ด” ส่วนจังหวัดระยอง-เกาะเสม็ดก็ไม่มีเสม็ดสักต้นเดียว “มีแต่ชื่อ” เพราะฉะนั้น ถ้าจะมาดู “ไม้เสม็ด” ต้องมาดูที่ “สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” เท่านั้น
“เป็นระบบนิเวศน์อีกรูปแบบหนึ่งที่สร้างความสมดุล และความหลากหลายทางธรรมชาติ และเป็นเกราะป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะนำเข้าสู่ชุมชน ปกป้องความสูญเสียได้อย่างมาก”
“สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพใน “พื้นที่ชุ่มน้ำ” บทเรียนที่ 1 ของชุมชนในจังหวัดระยอง
จากวันนั้น ถึงวันนี้ 18 ปีผ่านไป ได้สร้างความรู้-ความเข้าใจ “พื้นที่ชุ่มน้ำ” ให้กับชุมชนชาวระยอง จากการไม่ตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำ
นอกจากนี้ยังเป็น “แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” และเป็น “แหล่งเรียนรู้” เช่น พรรณไม้พื้นเมืองและพืชสมุนไพร ป่าเสม็ดโบราณ เส้นทางเดิน-ทางจักรยาน และล่องเรือชมป่าชายหาด-พื้นที่ลุ่มหลังหาด
ปัจจุบันยังเกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการนำ “พืชเศรษฐกิจ – กระจูด” มาเป็น “เครื่องจักสาน” สร้างอาชีพ-สร้างรายได้ให้กับชาวระยอง เกิดเป็น “วิสาหกิจชุมชน”
สำหรับ “เครื่องจักสาน” จากพืชท้องถิ่น “กระจูด” ที่ “สร้างชื่อ” ให้กับจังหวัดระยอง คือ “กลุ่มจักสานกระจูดมาบเหลาชะโอน” บ้านมาบเหลาชะโอน หมู่ที่ 5 ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง – หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village Champion : OVC)
การสาน “เสื่อกระจูด” เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้าน “บ้านมาบเหลาชะโอน” มาเป็นเวลานานกว่า 200 ปี และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
เริ่มต้นมีการสานเพื่อไว้ใช้ในครอบครัว ต่อมามีพ่อค้ามารับไปขายอีกทอด เกิดเป็นรายได้ในชุมชน ปัจจุบัน “สร้างรายได้” ให้กับชุมชนไม่ต่ำกว่าปีละ 6 ล้านบาท
***ผลิตและจัดจำหน่ายโดย กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดบ้านมาบเหลาชะโอน ต.ชากพง อ.แกลง จ.ระยอง 21190 โทร 086-0453938 www.bankawee.com
August 26, 2020 at 07:26PM
https://ift.tt/2EEEbE1
“กระจูด” จักสาน “บ้านมาบเหลาชะโอน” ของดีถิ่นระยอง สร้างรายได้ ปีละ 6 ล้าน - ประชาชาติธุรกิจ
https://ift.tt/2MI7832
Bagikan Berita Ini
0 Response to "“กระจูด” จักสาน “บ้านมาบเหลาชะโอน” ของดีถิ่นระยอง สร้างรายได้ ปีละ 6 ล้าน - ประชาชาติธุรกิจ"
Post a Comment